กรมทางหลวงชนบท เตรียมก่อสร้าง สะพานข้ามคลองมหาสวัสดิ์

กรมทางหลวงชนบท เตรียมก่อสร้าง สะพานข้ามคลองมหาสวัสดิ์

กรมทางหลวงชนบทเตรียมเดินหน้าสร้าง สะพานข้ามคลองมหาสวัสดิ์ บรรเทาการจราจรและบริเวณคอขวดบนถนนราชพฤกษ์ คาดเริ่มเข้าพื้นที่ก่อสร้างกลางปี 2565 (17 ม.ค. 2565) กรมทางหลวงชนบท (ทช.) กระทรวงคมนาคม เตรียมดำเนินโครงการก่อสร้าง สะพานข้ามคลองมหาสวัสดิ์ ถนนราชพฤกษ์ จังหวัดนนทบุรี เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจร เพิ่มประสิทธิภาพบนทางขนานถนนราชพฤกษ์ ทั้งสองฝั่งเป็นการสนับสนุนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมของกระทรวงคมนาคม เชื่อมโยงโครงข่ายพื้นที่จากกรุงเทพฯ สู่จังหวัดนนทบุรีได้อย่างคล่องตัวมากยิ่งขึ้น ตามนโยบายของนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม

นายอภิรัฐ ไชยวงศ์น้อย อธิบดีกรมทางหลวงชนบท 

กล่าวว่า จากอัตราการเจริญเติบโตของ การใช้ที่ดินในพื้นที่จังหวัดนนทบุรีฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยามีการพัฒนาและเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะถนนราชพฤกษ์ที่มีปริมาณการจราจรมากถึง 70,000 คันต่อวัน ทำให้ถนนราชพฤกษ์ไม่สามารถรองรับปริมาณการจราจรที่หนาแน่นในชั่วโมงเร่งด่วน ส่งผลให้ประสิทธิภาพของถนนราชพฤกษ์ลดลง เกิดปัญหาด้านความปลอดภัยของผู้ใช้รถใช้ถนนและมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นเป็นประจำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงบริเวณสะพานข้ามคลองมหาสวัสดิ์ ที่ยังมีสภาพเป็นคอขวดมีการจราจรติดขัด เนื่องจากเขตทางไม่เพียงพอที่จะก่อสร้างทางขนานในรูปแบบทั่วไปได้

ทช. จึงต้องดำเนินการกำหนดรูปแบบสะพานข้ามคลองมหาสวัสดิ์ให้อยู่ในเขตทางเดิม ซึ่งจะสามารถลดปัญหาสภาพคอขวดและการจราจรในพื้นที่ได้เป็นอย่างดี ปัจจุบัน ทช. ได้เตรียมดำเนินโครงการก่อสร้างสะพานข้ามคลองมหาสวัสดิ์ ถนนราชพฤกษ์ จังหวัดนนทบุรี มีลักษณะการก่อสร้างเป็นสะพานข้ามคลองมหาสวัสดิ์ขนาด 2 ช่องจราจร ต่อทิศทางบนทางขนานถนนราชพฤกษ์ ซึ่งโครงสร้างเสาและโครงสร้างส่วนบนจะเป็นโครงสร้างเหล็ก เพื่อให้งานก่อสร้างดำเนินไปอย่างรวดเร็วและมีผลกระทบกับการจราจรบนถนนราชพฤกษ์ให้น้อยที่สุด

โดยมีจุดเริ่มต้นงานก่อสร้างประมาณ กม. ที่ 12+850 และไปสิ้นสุดงานก่อสร้างประมาณ กม. ที่ 15+100 สะพานฝั่งทิศตะวันออกยาวประมาณ 2.1 กิโลเมตร และสะพานฝั่งทิศตะวันตกยาวประมาณ 1.9 กิโลเมตร ใช้งบประมาณในการก่อสร้างรวม 1,200 ล้านบาท เป็นงบผูกพัน 3 ปี (2565 – 2567)

ขณะนี้โครงการดังกล่าวอยู่ระหว่างดำเนินการจัดซื้อ จัดจ้างและคาดว่าจะสามารถเริ่มเข้าพื้นที่ดำเนินการก่อสร้างได้ในเดือนกรกฎาคม 2565 ต่อไป

เผยไทม์ไลน์ ผู้ป่วยโควิดโอมิครอน เสียชีวิต 2 ราย รับวัคซีนครบ 2 เข็ม

วันนี้ 17 ม.ค. 65 นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ แถลงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 สายพันธ์ุโอมิครอน พบไทยมีผู้เสียชีวิตแล้ว 2 ราย ขณะที่มีผู้ติดเชื้อโควิดสายพันธุ์โอมิครอนในไทยแล้วเกืบหมื่นราย

นพ.ศุภกิจ ระบุว่า ผู้เสียชีวิตทั้ง 2 ราย มีประวัติการรับวัคซีนโควิดครบแล้ว 2 เข็ม แม้ว่าวัคซีนสองเข็ม ช่วยลดความรุนแรงได้ แต่ที่เกิดปัญหาหากป่วยหนักจนเสียชีวิต มีปัจจัยอื่นร่วมด้วย ซึ่ง 2 รายนี้ เป็นผู้ป่วยติดเตียง ระบบภูมิต้านทานของร่างกายไม่ค่อยปกติ

ข้อมูลจาก ศบค. ระบุข้อมูลของผู้ป่วยโควิดโอมิครอน ที่เสียชีวิตรายที่ 1 เป็นหญิงไทย อายุ 86 ปี เป็นหญิงไทย อายุ 86 ปี   เป็นผู้ป่วยติดเตียงและอัลไซเมอร์ ได้รับวัคซีนไฟเซอร์ 2 เข็ม  ประวัติเสี่ยง หลานชายที่เดินทางกลับมาจากภูเก็ตเป็นผู้ป่วยยืนยันโควิดสายพันธุ์โอมิครอน แพร่เชื้อให้แก่คนในครอบครัว

6 ม.ค.2565 ผู้ป่วยมรไข้ มีเสมหะ ทราบข่าวลูกสาวตรวจพบโควิด หลานสาวตรวจหาเชื้อด้วยATKผลบวกจึงส่งต่อเข้ารับรักษาที่รพ.หาดใหญ่

 7.ม.ค.2565  ผู้ป่วยเข้ารับรักษาเป็นผู้ป่วยในที่ รพ.หาดใหญ่ แพทย์เก็บตัวอย่าง ส่งตรวจยืนยันที่ห้องปฏิบัติการ รพ.หาดใหญ่ ผลพบเชื้อ ผู้ป่วยมีใข้ 38.5C ไอ หายใจลำบาก แพทย์รับไว้ที่แผนก เอกซเรย์ปอด ผล infltration both lungs, on ETT แพทย์จ่ายยา Dexamethasone 10mg., Remdesivir

12 ม.ค. ผู้ป่วยเสียชีวิต เวลา 09.20 น. ส่งตัวอย่างตรวจยืนยันสายพันธุ์ที่ ศวก.12 สงขลา ผลพบเชื้อ SAR-COV-2 สายพันธุ์ โอมิครอน

ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ

รายที่ 2 ผู้เสียชีวิต (Omicron) จังหวัดอุดรธานี  เพศหญิง อายุ 84 ปี ภูมิลำเนา อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี  โรคประจำตัว : มะเร็งที่ปอดระยะสุดท้าย รักษาแบบประคับประคอง ใส่ออกซิเจน

ประวัติการได้รับวัคซีน : ไม่มีประวัติการได้รับวัคซีน

ประวัติเสี่ยง : เป็นผู้ป่วยติดเตียง ครอบครัวเป็นผู้ติดเชื้อโควิด 19

วันที่ 9 ม.ค.2565 : ตรวจหาเชื้อโควิด 19 ด้วยวิธี RT -PCR เนื่องจากเป็นผู้สัมผํสเสี่ยงสูง ของลูกชาย

วันที่ 10 ม.ค.2565 : ผลตรวจ พบเชื้อ โรงพยาบาลประสานเพื่อเข้ารับรักษา ผู้ป่วยและญาติปฏิเสธการเข้ารักษาในโรงพยาบาล แพทย์

อนุญาติให้เข้าสู่ระบบ Home Isolation ตามความประสงค์ของผู้ป่วยและญาติ แพทย์ให้ ยาฟาวิพิราเวียร์ ตามแผนการรักษา และจัดเครื่องวัดอุณหภูมิร่างกายและออกซิเจนปลายนิ้ว โดยออกซิเจนปลายนิ้วอยู่ระหว่าง 86-90% ไม่มีไข้ ซึ่งก่อนติดเชื้อโควิดลูกชายที่ดูแลแจ้งว่าค่ออกซิเจน

Credit : erorin.net genericamoxicillinamoxil.net gobyrail.net grain244.com greatrivercoffee.com hangwiththewang.com hawaiianalife.com heartynutrition.net hollandaises.net